ใช้เงินแบบมินิมัลลิสต์
บทความบริหารเงินมีแต่เรื่องของการเก็บและการลงทุน ทั้งที่เรื่องการใช้เงินก็เป็นหัวข้อใหญ่ของการใช้เงิน
ใช้เงินได้เดือนละเท่าไหร่?
บางคนใช้เงินเหมือนไม่มีวันพรุ่งนี้ ในขณะที่บางคนเก็บเงินเหมือนมีแต่วันพรุ่งนี้
คำตอบของการใช้เงินน่าจะเป็นการหาจุดสมดุลย์ระหว่างสองประโยคข้างบน โดยหาว่า จากเงินเดือนที่มี
- ต้องเก็บเท่าไหร่ถึงพอใช้หลังเลิกทำงาน (บทความที่แล้ว)
- เงินที่เหลือ หักเอามาเก็บได้อีกนิดหน่อย 10–20%
- ที่เหลือ เอาไปใช้เพื่อ กินอยู่และความสุขในวันนี้ เดือนนี้ ปีนี้ (เดี๋ยวจะขยายเรื่องการทำบัญชีหมวดใช้จ่ายต่อไป ถ้าใจร้อนอ่านเรื่อง Six Jars Theory ไปก่อน)
ใช้เงินแบบมินิมัลลิสต์
ไม่ได้แปลว่า งก แต่หาให้เจอว่า ตัวเองชอบอะไรจริงๆ แล้วลดค่าใช้จ่ายในหมวดอื่นๆ เพื่อมาโปะให้สิ่งที่ชอบทำมากขึ้น
เหมือนที่ ผู้ชายจะไม่เข้าใจที่ผู้หญิงซื้อ กระเป๋า รองเท้า เสื้อผ้า แต่ผู้หญิงก็จะไม่เข้าใจ ที่ผู้ชายซื้อ มือถือ รถ เครื่องเสียง
สุดท้ายอยู่ที่แต่ละคนให้คุณค่ากับอะไร
- 90% เอาเงินไปใช้กับ สองสามอย่าง ในชีวิตที่ทำให้เรามีความสุขจริงๆ (ยังไม่มีก็หาซะ)
- ที่เหลือที่เราไปตามแฟชั่น ก็ทิ้งๆไป
- 10% เก็บไว้เพื่อ ค้นหาสิ่งใหม่ๆ ตามกระแสใหม่บ้าง เผื่อมันจะเป็นกลายเป็นสิ่งที่เราชอบในชีวิตต่อไป
ซื้อของแบบมินิมัลลิสต์
ตามหนังสือชีวประวัติ Steve Jobs ใช้เวลาถึง 8 ปีในการซื้อโซฟาที่ถูกใจจริงๆ และมีเฟอร์นิเจอร์ไม่กี่ชิ้นแต่ราคาแพง
จากหนังสือ The Life-Changing Magic of Tidying Up ก็สอนให้เราจัดบ้านให้ไม่รกโดยเก็บไว้แต่ของที่ทำให้เรามีความสุขจริงๆ
สรุปเหมือนเดิม คือ
- หาให้ได้ว่าของแต่ละชิ้นที่สมบูรณ์แบบหน้าตาเป็นอย่างไร?
- เมื่อเจอแล้ว ไม่ต้องกลัวที่จะเก็บเงินและซื้อแพงหน่อย
- ของหลายอย่าง ยังไม่จำเป็นต้องมี ก็ไม่ต้องซื้อ ถ้ายังไม่เจอที่ตรงกับที่อยากมี
- ทิ้ง หรือ ขาย ของที่ไม่ได้ใช้ ไม่ได้สร้างความสุขไปแล้วบ้าง
- ของที่เราชอบดู คิดว่าน่ารัก สวย ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทุกอย่างก็ได้
References