อัตราเงินเฟ้อ
มาคำนวณกันดู
มาคำนวณกันดู
สรุปแบบขี้เกียจอ่าน
อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยเฉลี่ยจากปี 2000 – 2016 = 2.1 % ต่อปี
ความสำคัญของอัตราเงินเฟ้อ
สำหรับนักลงทุน หลักๆคือ
- ไว้ดูว่าต้องทำผลตอบแทนอย่างน้อยเท่าไหร่ถึงชนะเงินเฟ้อ เงินไม่หาย
- เอาไว้คำนวณ Future Value / Present Value
(เงิน 100 บาทวันนี้ มีมูลค่าเพียง 90 บาท ในอีก 10 ปีข้างหน้า เนื่องจากเงินเฟ้อ x %)
ประเภทของอัตราเงินเฟ้อ
อัตราเงินเฟ้อ คือ การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค อ้างอิงความหมายตามเอกสารนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคมีสองประเภท
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (Headline CPI) คือ ดัชนีราคาที่รวมสินค้าทุกหมวดที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปที่หักสินค้าในหมวดอาหารสดและพลังงานออก เนื่องจากมีความผันผวนในระยะสั้นอันเนื่องจากปัจจัยด้านฤดูกาล และอยู่นอกเหนือการควบคุมของ นโยบายการเงิน
คำนวณ
ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อย้อนหลัง ดูได้จากข้อมูลดัชนีเศรษฐกิจมหภาคของไทย โหลดได้จากธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ข้อมูลสถิติ)
Edit descriptionwww2.bot.or.th
จากข้อมูลเอามาใส่กราฟจะได้ตามรูปข้างล่าง จะเห็นว่าก่อนกับหลังปี 2000 ต่างกันมาก เอาแค่หลังปี 2000 แล้วกันนะ (หลักสถิติอะไรฟระ)

แยกมาพลอตกราฟเฉพาะหลังปี 2000 พร้อมกับค่าเฉลี่ยของอัตราเงินเฟ้อ จะได้แบบนี้

ตัวที่เอามาใช้ ก็เป็น Headline CPI เลย เพราะมันไม่ได้ตัดอะไรออกไปเลย ความผันผวนระยะสั้นอะไร มันก็เกิดขึ้นจริงทั้งนั้น ใครไม่เห็นด้วยอยากจะใช้ Core CPI ก็ตามสบาย
สรุปคืออัตราเงินเฟ้อ = 2.1 % ต่อปี เก็บไว้ใช้ได้
Source Code
ใครจะเอาไปทำอะไรต่อ เชิญได้ที่นี่
minfinance/analyze
Contribute to analyze development by creating an account on GitHub.github.com